Home » » Dreamweaver 8 + Serial Number

Dreamweaver 8 + Serial Number


Dreamweaver 8






Serial Number คือ อันไหนก็ได้
WPD800-55537-96632-79510
WPD800-57935-50232-10340
WPD800-52434-45232-43115
WPD800-52634-20232-93379
WPD800-58630-64632-04850
WPD800-51535-73732-10267
WPD800-56838-07232-65982

WPD800-52634-48732-77620
 

 ปัจจุบัน โปรแกรม Dreamweaver 8 เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท Adobe Systems Incorporated จัดอยู่ใน Studio 8 ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรม Dreamweaver 8 , Flash Professional 8 , Fireworks 8 , Contribute 3 และ FlashPaper 2
      จุดเด่นของโปรแกรม Dreamweaver 8 ที่ได้รับการพัฒนาให้ดีจากรุ่นก่อน ดังนี้
       1. ทำงานง่ายขึ้น มีเครื่องมือช่วยการทำงานหลากหลายและใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น Zoom Tool บนแถบสถานะ เพื่อช่วยให้ดูรายละเอียดส่วนที่ต้องการ และเครื่องมือ Hand Tool ช่วยเลื่อนหาส่วนต่างๆของเว็บเพจ
       2. เขียนถึงโค้ด HTML ได้ง่าย ขณะที่ทำงานอยู่กับข้อความหรือออบเจ็กต์ใดๆ เมื่อแสดงโค้ด HTML จะเลื่อนไปยังส่วนโค้ดนั้นให้ทันทีจึงสะดวกกับการแก้ไขโค้ด
       3. ใช้งาน CSS ได้สะดวก ปรับแต่ง CSS ได้หลากหลาย และแสดงคุณสมบัติของ CSS ไว้ด้วย
       4. ใช้งานร่วมกับ Flash ได้ง่าย นำเข้าโปรแกรม Flash Video หรือ ไฟล์ .flv เป็นไฟล์แบบ Straem Vedio ผู้ใช้สามารถอ่านและโหลดข้อมูลไปพร้อมกัน การใช้งานร่วมกับ Flash ทำได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้นกว่ารุ่นก่อนๆ


       ก่อนที่จะเริ่มใช้โปรแกรม Dreamweaver สำหรับผู้ที่จะติดตั้งโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งานเอง ควรจะสำรวจความต้องการระบบที่สามารถใช้งานโปรแกรมได้ ดังนี้

     ระบบที่ต้องการสำหรับ Microsoft Windows
       1. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)                  รุ่น Pentium III 800 MHz ขึ้นไป
       2. หน่วยความจำแรม (RAM)                       256 MB แนะนำควรใช้ 512 MB ขึ้นไป
       3. เนื้อที่ว่างของฮาร์ดดิสก์                        อย่างน้อย 500 MB ขึ้นไป
       4. จอภาพ                                                   ควรเป็นล้านสี ความละเอียด 1024 x 768 จุด
       5. ซีดีรอมไดรฟ์                                            มี
       6. ระบบปฏิบัติการ                                      Window 98 หรือสูงกว่า
       7. เว็บเบราว์เซอร์                                        IE 4.0 หรือสูงกว่า Firefox 2.0.0.1

     ระบบที่ต้องการสำหรับเครื่อง Macintosh 
       1. เครื่องคอมพิวเตอร์                                   รุ่น Power Macintosh G3 600 MHz ขึ้นไป
       2. หน่วยความจำแรม (RAM)                       128 MB ขึ้นไป
       3. เนื้อที่ว่างของฮาร์ดดิสก์                            อย่างน้อย 500 MB ขึ้นไป
       4. จอภาพ                                                   ควรเป็นล้านสี ความละเอียด 1024 x 768 จุด
       5. ซีดีรอมไดรฟ์                                            มี
       6. ระบบปฏิบัติการ                                       OS x 10.3 หรือ 10.4
       7. เว็บเบราว์เซอร์                                         IE 4.0 หรือสูงกว่า Firefox 2.0.0.1

      เนื่องจากการสร้างเว็บเพจบางชนิดอาจจะใช้มัลติมีเดีย เช่น ภาพเคลื่อนไหว และไฟล์เสียง ซึ่งจะต้องใช้ลำโพง และการ์ดเสียงประกอบด้วย อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ที่จำหน่ายในปัจจุบันส่วนใหญ่สามารถใช้โปรแกรม Dreamweaver 8 ได้เนื่องจากมีคุณสมบัติค่อนข้างสูงอยู่แล้วและราคาก็ไม่แพงมากนัก



การติดตั้งโปรแกรม  Dreamweaver 8  มีขั้นตอนดังนี้
  • ใส่แผ่นซีดีรอม  โปรแกรม  Dreamweaver 8  เข้าไปในไดร์ฟซีดีรอม
  • โปรแกรมจะเริ่มทำงานโดยอัตโนมัติ  หรือถ้าเปิดเข้าไปที่ไดรฟ์ซีดีรอม  ดับเบิลคลิกที่ไอคอน Setup โปรแกรม

  • จะได้หน้าต่างข้อตกลงสิทธิการใช้งาน (License Agreement)  คลิกเลือก  I accept …  แล้วคลิกปุ่ม  Next

  • เลือกไดเรกทอรี่ที่ต้องการ  เช่น  C:\Program File … ถ้าต้องการเปลี่ยนให้คลิกปุ่ม  Change …  เลือกไดรฟ์และโฟลเดอร์ ที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม  Next

  • เลือกชนิดของโปรแกรมที่จะใช้ร่วมกับ  Dreamweaver (Default Editor)  ถ้าเลือกทั้งหมดแล้วคลิกปุ่ม  Select All  แล้วคลิกปุ่ม  Next

  • คลิกปุ่ม  Install  เพื่อติดตั้งโปรแกรม

  • เริ่มติดตั้งโปรแกรมลงในเครื่องจนเสร็จสมบูรณ์

  • คลิกปุ่ม  Finish


  • คลิกที่ปุ่ม  Start  บนทาสก์บาร์
  • เลือกคำสั่งย่อย  Programs >> Macromedia >> Macromedia Dreamweaver 8
  • เรียกผ่านไอคอนบนเดสก์ทอป

  กรณีที่ได้สร้างไอคอน  Dreamweaver 8  ไว้บนเดสก์ทอป  สามารถดับเบิลคลิกที่ไอคอนได้ เมื่อเปิดโปรอกรมแล้วจะเข้าสู่หน้าต่างที่เรียกว่า  หน้าเริ่มต้น (Start Page)  เพื่อให้ผู้ใช้เรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ซึ่ง ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ  ดังรูป

ส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรม Dreamweaver 8

ปกติผู้เริ่มต้นสร้างเว็บเพจก็จะเลือกใช้ สร้างเว็บเพจใหม่ ( Create New ) ซึ่งมีรูปแบบให้เลือกหลายชนิด
ที่นิยมใช้ คือ

       HTML   ใช้สำหรับสร้างเว็บเพจธรรมดาทั่วไป ไม่มีฐานข้อมูลหรือสคริปต์ต่างๆ
       ASP   เหมาะสำหรับใช้งานร่วมกับฐานข้อมูล
       PHP   เหมาะสำหรับใช้งานฐานข้อมูลร่วมกับสคริปต์ PHP เช่น MySQL Oracle ฯลฯ
       JavaScript   ใช้สำหรับสร้างสคริปต์ฝั่งผู้รับข้อมูล ( Client ) ส่งมาพร้อมกับ HTML เพื่อให้ผู้ใช้เปิดชมได้

       นอกจากนี้ยังมีรูปแบบอื่นๆอีกหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมและเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นสร้างเว็บเพจขอแนะนำให้ใช้ HTML
       เมื่อคลิกที่ตัวเลือก HTML แล้วจะได้หน้าต่างแรกของโปรแกรม Dreamweaver 8 ซึ่งมีส่วนประกอบต่างๆ
ดังรูป

เมนูคำสั่ง
เมนูคำสั่งของ Dreamweaver ประกอบด้วยเมนูหลัก 10 เมนูและเมนูย่อยอีกจำนวนมาก ดังนี้
เมนู File รวบรวมคำสั่งที่ใช้จัดการกับไฟล์หรือแฟ้มข้อมูล
เมนู Edit รวบรวมคำสั่งที่ใช้แก้ไขเอกสาร
เมนู View รวบรวมคำสั่งที่ใช้แสดงมุมมองเอกสารเว็บ

เมนู Insert รวบรวมคำสั่งที่ใช้แทรกส่วนประกอบต่างๆบนเว็บ เช่น ภาพ เลเยอร์
เมนู Modify ใช้สำหรับปรับแต่งเว็บเพจ เช่น ตาราง เฟรมเซต
เมนู Text ใช้สำหรับจัดการข้อความ ตัวอักษร
เมนู Commands จัดการรูปแบบคำสั่ง
เมนู Site จัดการกับเว็บไซต์ หรือ ไซต์งาน
เมนู Windows จัดการกับหน้าต่างที่ทำงานอยู่
เมนู Help ขอความช่วยเหลือจากโปรแกรม

กลุ่มเครื่องมือ
       เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้สำหรับสร้างวัตถุต่างๆบนเว็บเพจ คลิกที่ปุ่ม Common จะพบกลุ่มเครื่องมือทั้งหมด ซึ่งมีอยู่ 8 กลุ่ม

Common เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้งานบ่อยๆ เช่น แทรกตาราง แทรกภาพ

Layout เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้งานด้านการวางองค์ประกอบของหน้าเว็บเพจ

Forms เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้จัดการกับฟอร์มที่สร้างขึ้นเพื่อรับข้อมูล

Text เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้สำหรับจัดการกับข้อความ

HTML เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้จัดการกับภาษา HTML บนเว็บเพจ

Application เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ใช้สำหรับจัดการกับแอพพลิเคชันฐานข้อมูล

Flash elements เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับจัดการกับไฟล์งานที่สร้างด้วย Flash บนเว็บ

Favorites เป็นกลุ่มเครื่องมือที่ให้ผู้ใช้โปรแกรมนำเอาเครื่องมือที่ใช้งานบ่อยๆนอกเหนือจากที่กล่าวมาให้มาสร้างไว้ที่นี่

พาเนล Property Inspector
      พาเนลคุณสมบัติของสิ่งที่เลือกหรือ Property Inspector เป็นพาเนลที่ใช้สำหรับแสดงคุณสมบัติของภาพ ข้อความ หรือวัตถุใดๆบนเว็บเพจ และผู้ใช้สามารถปรับปรุงแก้คุณสมบัติได้จากพาเนลนี้ ดังตัวอย่าง

จากตัวอย่าง เมื่อคลิกที่ภาพ คุณสมบัติของภาพจะแสดงไว้ที่ Property Inspector เช่น W (กว้าง) 89 H (สูง) 119 และ Image 27k (ความละเอียดของภาพ) เป็นต้น ถ้าคลิกที่ข้อความก็จะแสดงคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป
กลุ่มพาเนล
     พาเนลของ Dreamweaver เป็นส่วนที่ใช้ในการควบคุมหรือการตั้งค่าการใช้งานส่วนต่างๆของเว็บเพจ โดยมีหลายพาเนลแต่ละพาเนลมีความสามารถในการจัดเอกสารต่างกัน พาเพลมีดังนี้
     พาเนล CSS ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบตัวอักษรและลูกเล่นต่างๆ
     พาเนล Application ใช้ในการเขียนเว็บไซต์ที่มีการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล
     พาเนล Tag ใช้รวบรวมการใช้งาน Tag ของ CSS ทั้งหมด
     พาเนล File ใช้แสดงแผนผังเว็บไซต์ว่าประกอบด้วยไฟล์และโฟลเดอร์อะไรบ้าง
การซ่อน - แสดงพาเนล

การเปิด - ปิดพาเนลทำได้โดยใช้เมนู Windows หรือ คลิกที่ปุ่มหน้าชื่อพาเนลนั้นๆ

การปิดพาเนล
        ทำได้โดยการคลิกปุ่มด้านขวามือของพาเนลนั้นๆ แล้วเลือกคำสั่งย่อย Close Panel ... เช่น Close CSS Style การปิดพาเนลทั้งหมดคลิกคำสั่ง Close panel group

การปรับมุมมองการทำงาน
      โปรแกรม Dreamweaver 8 มีมุมมองการทำงาน 3 แบบ คือ
       Show Code View แสดงมุมมองโค้ด HTML ทั้งเอกสาร เหมาะสำหรับเขียนโค้ดเพิ่มเติมในตำแหน่งที่ต้องการ

Show Code and Design View แสดงทั้งโค้ด HTML และงานบนหน้าเอกสาร แบ่งเป็นสองส่วนในหน้าเดียวกัน


การเริ่มต้นการสร้างเว็บไซต์และเว็บเพจ การกำหนดโครงสร้างเว็บไซต์

การเตรียมพื้นที่หรือโฟลเดอร์สำหรับเก็บเว็บไซต์โดยจัดการสร้างโฟลเดอร์เพื่อเก็บข้อมูลหรือเก็บไฟล์ต่างๆ ให้เป็นหมวดหมู่เพื่อง่ายต่อการจัดทำเว็บไซต์ และง่ายต่อการบริหารงานเว็บไซต์ ดังนั้นการจัดการวางแผนจัดเก็บข้อมูลลงในโฟลเดอร์จึงเป็นสิ่งสำคัญ ลักษณะของการจัดเก็บ เช่นโฟล์เดอร์หลักใช้เก็บไฟล์ประเภท .html
  • โฟล์เดอร์รูปภาพ
  • โฟล์เดอร์เสียง
  • โฟล์เดอร์ภาพเคลื่อนไหว
อีกทั้งยังสามารถสร้างโฟลเดอร์ย่อย (Sub folder)ลงในโฟลเดอร์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย

การสร้างไซต์ (Site) งาน
  • คลิกที่เมนู  Site  แล้วเลือกคำสั่ง  New Site…

จะเข้าสู่หน้าต่าง  Site Definition เพื่อกำหนดชื่อไซต์พิมพ์ชื่อไซต์ที่ต้องการ เช่น  Com-learning2u.com
แล้วคลิกปุ่ม  Next

เลือกไม่ต้องติดต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ในขณะนี้ (No, I don’t …)  แล้วคลิกปุ่ม  Next

กำหนดวิธีแก้ไขงานและโฟลเดอร์ที่เก็บเว็บไซต์  แล้วคลิกปุ่ม Next

เลือกรูปแบบการเชื่อมต่อกับเว็บเซิร์ฟเวอร์เป็น None  แล้วคลิกปุ่ม  Next

จะได้รายละเอียดที่เราตั้งค่าไว้ทั้งหมด  คลิกปุ่ม  Done

โฟล์เดอร์ที่สร้างจะปรากฏอยู่ที่พาเนลไฟล์


การสร้างไฟล์และโฟลเดอร์ใหม่
                หลังจากได้สร้างไซต์งานไว้แล้ว  ขั้นตอนต่อไปคือการสร้างโฟลเดอร์ย่อย  และไฟล์งานตามที่ได้วางแผนไว้  ซึ่งมีวิธีการสร้าง  ดังนี้
  • คลิกขวาที่ไซต์  ในพาเนลไฟล์  จะได้เมนูลัด  และเลือกคำสั่ง  New Folder

จะปรากฏโฟลเดอร์ใหม่ชื่อ Untitled  ให้พิมพ์เปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ใหม่  เช่น  Images

สร้างโฟลเดอร์ต่าง ๆ  ตามที่ต้องการ  ส่วนการสร้างไฟล์งานให้เลือกคำสั่ง  New File  จะได้ไฟล์งานชื่อ  Untitled  ให้เปลี่ยนชื่อใหม่  เช่น  index.html

การแก้ไขไฟล์และโฟลเดอร์ให้คลิกขวาที่ไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ต้องการ  แล้วเลือกคำสั่ง  Edit  จะมีคำสั่งย่อยให้เลือก  เช่น  Copy Delete  ฯลฯ

เมื่อสร้างโฟลเดอร์และไฟล์ต่าง ๆ ในไซต์งานของเราครบแล้ว  ถ้าเปิดดูโฟลเดอร์จะพบรายการที่ได้สร้างไว้ 

การสร้างหน้าเว็บเพจใหม่ 
                เมื่อเปิดโปรแกรมแล้วจะเข้าสู่หน้าสำหรับสร้างเว็บเพจมีชื่อว่า  Untitled-1  โดยอัตโนมัติ  เราสามารถสร้างเว็บเพจได้ทันที  อย่างไรก็ตามหากต้องการสร้างหน้าเว็บเพจใหม่ ก็สามารถทำได้ดังนี้
เลือกคำสั่ง  File >> New  จะได้หน้าต่าง  New Document

  • คลิกเลือกแท็บ  General  แล้วเลือก  Category  เป็น  Basic Page
  • คลิกปุ่ม  Create

ในตัวเลือก  Category  จะมีลักษณะของเว็บเพจให้เลือกใช้งาน  ดังนี้
Basic Page
Dynamic Page                   
Template Page                  
Other                                    
CSS Style Sheets
Framesets                           
Page Design (CSS)         
Starter Pages                    
Page Design   
สำหรับสร้างเว็บเพจใหม่ทั่วไป  เช่น  HTML, XML เป็นต้น
สร้างเว็บเพจแบบไดนามิก สนับสนุนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ASP,PHP
สร้างหน้าแม่แบบสำหรับใช้งานครั้งต่อไป
สร้างเว็บเพจจากภาษาอื่น ๆ เช่น VBscript
เลือกใช้รูปแบบ CSS
เลือกใช้งานเฟรมเซตแบบต่าง ๆ ที่โปรแกรมออกแบบไว้
เลือกรูปแบบ CSS
เลือกรูปแบบตามหมวดหมู่ที่โปรแกรมออกแบบไว้ให้ เลือกใช
เลือกการออกแบบที่เหมาะสมกับการใช้งาน หรือ ประเภท ธุรกิจของผู้ใช้งาน
การเปิดใช้เว็บเพจที่ได้สร้างไว้แล้ว  ให้เลือกคำสั่ง  File >> Open   แล้วเลือกไฟล์ที่ต้องการ

การใส่หัวเรื่องหรือแถบชื่อเรื่อง
                หัวเรื่องหรือแถบชื่อเรื่องของหน้าเว็บเพจ  เป็นส่วนที่ปรากฏอยู่บนแถบชื่อของเว็บเพจหน้านั้น ๆ  เพื่อบอกให้ผู้อ่านทราบว่ากำลังเปิดดูเว็บเพจหน้าอะไร  ดังตัวอย่าง
การใส่หัวเรื่องทำได้  ดังนี้
  • คลิกที่ช่อง  Title  บน  Toolbar  แล้วพิมพ์ชื่อเรื่องที่ต้องการ

  • หรือคลิกปุ่ม  Page  Properties  จะได้หน้าต่าง  Page Properties  แล้วคลิกที่ตัวเลือก  Title/Encoding  จะได้ตัวเลือก  ดังรูป

  • พิมพ์ข้อความแถบชื่อเรื่อง  เช่น  Com-learning2u  ในช่อง  Title:  แล้วคลิก  OK
  • จะได้แถบชื่อเรื่องตามต้องการ


การบันทึกเว็บเพจ
                การบันทึกเว็บเพจทั้งเว็บเพจที่สร้างใหม่และเว็บเพจที่เปิดขึ้นมาใช้งาน  มีวิธีการดังนี้
การบันทึกไฟล์ใหม่
  • คลิกคำสั่ง  File >> Save As
  • จะได้หน้าต่าง  Save As  เลือกโฟลเดอร์และพิมพ์ชื่อไฟล์

  • คลิกปุ่ม  Save
  • คำสั่ง  Save All  หมายถึงบันทึกไฟล์ทั้งหมดที่เปิดใช้งานหรือแก้ไข
  • คำสั่ง  Save to Remote Server  หมายถึง  บันทึกเว็บเพจและอัพโหลดไปสู่เซิร์ฟเวอร์
  • คำสั่ง  Save as Template  หมายถึง  บันทึกเป็นแม่แบบสำหรับใช้งาน


การทดสอบกับเว็บเบราเซอร์
เว็บเพจที่สร้างและบันทึกไว้แล้ว  สามารถทดสอบเพื่อดูผลงานกับเว็บเบราเซอร์แบบ
ออฟไลน์ (Offline)  ได้  โดยปกติ  Dreamweaver 8  จะเลือกเว็บเบราเซอร์ให้เองโดยอัตโนมัติ  ส่วนใหญ่ก็จะแป้น  Internet  Explorer   แต่มีบางคนที่ใช้  Firefox    ทั้งนี้  การแสดงผลอาจจะไม่ตรงกนเสียทีเดียว           การทดสอบกับเว็บเบราเซอร์  ทำได้ดังนี้
  • กดแป้น  < F12 >  บนคีย์บอร์ด
  • หรือดับเบิลคลิกที่ไฟล์  .html  นั้น ๆ
  • หรือ เลือกคำสั่ง  File >> Preview in Browser >> iexplorer.exe (หรือ  Firefox.exe)
  • จะได้เว็บเพจดังตัวอย่าง


การออกจากโปรแกรม
      การออกจากโปรแกรมทำได้ 4 วิธี ดังนี้
      วิธีที่ 1 คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Close ที่ Control Box
      วิธีที่ 2 คลิกที่ปุ่ม บน Titlebar แล้วคลิกคำสั่ง Close

วิธีที่ 3 คลิกที่คำสั่ง File > Exit

 วิธีที่ 4 ใช้แป้นพิมพ์ < Ctrl > + < Q >









1 ความคิดเห็น: